พวกเราคงรู้สึกได้และสัมผัสได้ว่าการหัวเราะและยิ้มบ่อยๆ จะทำให้เราอารมณ์ดี คลายเครียดได้ เนื่องจากมีสารแห่งความสุข หรือเรียกว่า “สารเอนดอร์ฟิน” ถูกหลั่งออกมากระตุ้นให้สมองสดใส คลายกังวล ทำให้ฮอร์โมนความเครียดลดลง สภาพจิตใจดีขึ้น ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น มีการฟอกเลือดที่ปอดได้ดี และที่สำคัญยังทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดีด้วย แต่การหัวเราะนั้นไม่ใช่ว่าอยู่ดีดีก็จะหัวเราะขึ้นมาได้เอง ต้องอาศัยอารมณ์ร่วมหรือสถานการณ์ร่วมที่ทำให้เกิดความตลกขบขันหรือสนุกสนาน เราจึงต้องมีแบบฝึกหัดเพื่อทำให้เกิดการหัวเราะขึ้นมาได้ เรียกว่า “ฝึกหัวเราะบำบัด” หลักการใช้เสียงหัวเราะทั้งหมด 6 เสียง เสียงละ 3 ครั้ง ให้ฝึกทำทุกวัน แม้ในขณะนอนเล่น ขณะออกกำลังกาย ทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ หรือที่ใดก็ได้ที่คิดว่าเหมาะสมและไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น
เสียงที่ 1 เสียงโอ / เสียงหัวเราะ
เสียงที่ 2 เสียงอา / อกหัวเราะ
เสียงที่ 3 เสียงอู / คอหัวเราะ
เสียงที่ 4 เสียงเอ / ใบหน้าหัวเราะ
เสียงที่ 5 เสียงฮี / จมูกหัวเราะ
เสียงที่ 6 เสียงอือ / สมองหัวเราะ
“อย่าลืมนะคะ... หัวเราะ 6 เสียง เสียงละ 3 ครั้ง ให้โลกสวย สดใส ในทุกวัน”
เอกสารอ้างอิง
เนตรดาว สุวรรณศักดิ์บวร (2556) สมองสร้าง จดจำ ทำงานเก่งและบำรุงได้ด้วยตนเอง, Feel Good Publishing:กรุงเทพฯ