เชื่อว่าหลายคนก็คงอยากทราบว่าร่างกายของตัวเองมีความสมส่วน มีความแข็งแรงและความฟิตระหว่างมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อมากน้อยเพียงใด การชั่งน้ำหนักเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าร่างกายประกอบด้วยมวลไขมันหรือมวลกล้ามเนื้อมากน้อยแค่ไหน คนที่มีน้ำหนักที่เยอะอาจเป็นน้ำหนักที่มาจากมวลกระดูกที่โครงร่างใหญ่และมวลกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ก็ได้ ขณะที่กับอีกคนที่น้ำหนักเท่ากันหรือน้อยกว่าก็อาจมีมวลไขมันสะสมที่มากกว่าได้เช่นกัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีการพัฒนาเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกายหรือ Bioelectrical Impedance Analysis (BIA)
เครื่อง BIA นี้อาศัยเทคนิคการวัดโดยใช้หลักการการขัดขวางการนำไฟฟ้าของร่างกาย (Bioelectrical Impedance) อาศัยหลักการผ่านกระแสไฟฟ้า 2 ความถี่ โดยที่กระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ (low frequency; kHz) กระแสไฟฟ้าจะสามารถทะลุผ่านได้เฉพาะส่วนของของเหลวนอกเซลล์ (Extracellular fluids) และที่กระแสไฟฟ้าความถี่สูง ( 500 – 800 kHz) ที่สามารถผ่านได้ทั้งในส่วนของของเหลวนอกเซลล์และในเซลล์ ดังนั้นการวัดด้วยเครื่อง BIA จึงมีข้อจำกัดจากการที่ปริมาณน้ำในร่างกายเปลี่ยนไป มีผลต่อการอ่านค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน เช่น ดื่มน้ำมากเกิน เกิดภาวะน้ำเกิน (Overhydration) ทำให้เพิ่มสื่อนำและลดค่า impedance หรือ หลังจากการออกกำลังกายใหม่ๆ เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นต้น หากต้องการได้ผลที่ชัดเจนเที่ยงตรง แนะนำว่าก่อนการตรวจวัด 8 -12 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนักหรือดื่มน้ำมากเกินไป แต่สามารถจิบน้ำได้บ้าง
ผลสำคัญที่ได้จากเครื่อง BIA ได้แก่
ในปัจจุบัน เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกายหรือ Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ได้รับความนิยมมากขึ้น ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆ ศูนย์กีฬา และสถาบันความงามหลายแห่ง ท่านก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและบางแห่งให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Rani, N. (2014). Bioelectrical Impedance Analysis and its Interpretation.
- Safer, U., Safer, V. B., & Cintosun, U. (2015). Determination of Body Fat Mass: Bioelectrical Impedance Analysis. The Journal of arthroplasty, 30(5), 895-896.