"เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)" ย่อมาจาก "Automated External Defibrillator" ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากเมื่อพบเจอผู้หมดสติที่อาจมาจากอาการทางหัวใจ ทั้งในการตรวจวิเคราะห์อาการหัวใจในที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วว่าต้องรักษาโดยการช็อกด้วยเครื่องนี้หรือไม่? และในการกู้ชีวิตเบื้องต้นระหว่างที่ยังไปไม่ถึงโรงพยาบาล
หน้าที่ของเครื่องนี้คือปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นลงทันทีแล้วกลับมาทำงานปกติอีกครั้งหนึ่ง
เครื่องนี้ใช้ใน 3 กรณี คือกรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และหมดสติ หรือกรณีผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และตามมาด้วยการหมดสติ หรือกรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อตจนหมดสติ
ซึ่งเครื่องนี้มีวิธีใช้คร่าวๆคือ
1. เปิดเครื่อง
เครื่อง AED บางรุ่นต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง แต่บางรุ่นก็ทําางานทันทีที่เปิดฝาครอบออก และเมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงบอกว่าต้องทําอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
2 ติดแผ่นนําไฟฟ้า เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วย
ในกรณีจําเป็นเราอาจต้องใช้กรรไกรหรือมีดตัดเสื้อของผู้ป่วยออกก็ได้ ซึ่งกรรไกรนี้จะมีมาให้ในชุดช่วยชีวิต
และจากนั้นต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกนํ้า โดยอาจต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้งเสียก่อน
จากนั้นลอกแผ่นพลาสติกด้านหลังแผ่นนำไฟฟ้าออก ติดแผ่นนําาไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้บนเครื่อง โดยต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว แผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลําตัว ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้าจากแผ่นนําไฟฟ้าต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย
3. ให้เครื่อง AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เครื่อง AED ส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนําไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน
ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย โดยให้ร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกําาลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย”
ถ้าเครื่อง AED พบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้ทราบ
4. ทำการ SHOCK
ถ้าเครื่อง AED พบและแจ้งว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ก็ให้เตรียมกดปุ่ม SHOCK โดยต้องแน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วยระหว่างนั้น ซึ่งควรร้องบอกดังๆ ว่า “คุณถอย ผมถอย และทุกคนถอย” ซึ่งก่อนกดปุ่ม “SHOCK” ให้มองซํ้าอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้ายด้วย
เมื่อเครื่องบอกว่า ไม่ต้องช็อก หรือ “No shock is needed” หรือ “start CPR” แล้ว ให้เปิดเครื่อง AED ไว้ก่อนและให้เริ่มช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานทันที
การ “ช่วยชีวิตพื้นฐาน” ที่ว่านี้ โดยทําการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง ประมาณ 2 นาที (อ่านวิธีโดยละเอียดได้ในบทความ “ปั๊มพ์หัวใจถูกวิธี กู้ชีวีก่อนส่งแพทย์” ) หรือจนกว่าเครื่อง AED จะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง แล้วกลับไปยังข้อ 3 และ 4
ซึ่งสําหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 วินาที และทําการช่วยเหลือรอจนกว่าความช่วยเหลืออื่นๆ จะตามมาต่อไป
แหล่งข้อมูล
คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ.2559
โดยศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย
คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต
และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์