“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

5 เทคนิค การเลือกรองเท้าออกกำลังกายคู่ใจ

5 เทคนิค การเลือกรองเท้าออกกำลังกายคู่ใจ

 

1. ควรเลือกและทดสอบรองเท้าในช่วงเวลาเย็น

เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เท้าขยายใหญ่ที่สุด จึงเหมาะที่จะเลือกลองรองเท้ามากที่สุด เพื่อป้องกันปัญหารองเท้าคับและไม่เข้ารูป และเวลาลองรองเท้าควรใส่ทั้งสองข้างและเดินไปรอบๆบริเวณสักพัก เพื่อพิจารณาถึงความพอดีและความสบายกับเท้าทั้งสองข้าง

 

2. เลือกรองเท้าให้เหมาะกับทรงรูปเท้าตัวเอง

ลองสังเกตว่าตัวเองมีลักษณะเท้าเป็นอย่างไร แล้วเลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าของแต่ละคน

- ฝ่าเท้าแบน (ฝ่าเท้าคุณไม่มีส่วนเว้าโค้งเลย) ต้องเลือกรองเท้าที่เน้นความมั่นคงของการวิ่งและการทรงตัวที่ดี ควรเลือกซื้อรองเท้าประเภท “Motion Control” ซึ่งมีพื้นรองเท้าที่กว้างและหนักกว่าปกติ

- ฝ่าเท้าปกติ หรือฝ่าเท้าพอดี (ฝ่าเท้ามีส่วนเว้าประมาณ 3 ใน 4) เลือกรองเท้าได้ทุกรูปแบบเพราะเป็นทรงเท้าที่ได้มาตรฐาน

- ฝ่าเท้าสูง หรือฝ่าเท้าโค้ง (ฝ่าเท้ามีส่วนโค้งส่วนเว้ามากหรือรอยเท้าขาด) เมื่อออกกำลังกายเป็นเวลานานๆจะรู้สึกปวดเมื่อยได้ง่าย เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บบริเวณขาและเข่า เนื่องจากมีการรับแรงกระเเทก เพราะน้ำหนักจะลงเฉพาะส่วนปลายและส้นเท้า ควรเลือกรองเท้าประเภท “Flexible” หรือ “Cushioned” ซึ่งจะมีส่วนเสริมกลางฝ่าเท้าและพื้นเท้าที่ลดแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี

 

3. ต้องลองสวมรวมเท้าก่อนซื้อทุกครั้ง

เหตุมาจากขนาดไซส์รองเท้าแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนั้นไม่เท่ากันเสมอไป เมื่อสวมใส่แล้วต้องรู้สึกสบาย ไม่อึดอัดหรือคับแน่นจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตไปถึงปลายเท้าได้ จากนั้นลองทดสอบด้วยการเดิน-วิ่ง-กระโดด แล้วสังเกตว่ารองเท้าจะยึดเท้าให้อยู่ภายในตัวรองเท้าหรือไม่ มีอาการแน่นเท้า เจ็บเท้าหรือไม่พอดี ลื่นหลุดขณะทดสอบหรือไม่

- สำหรับคนที่มีขนาดหน้าเท้ากว้าง ควรคำนึงถึงความกว้างของรองเท้าด้วย ไม่ให้บีบรัดจนเกินไป เพราะอาจทำให้เท้าเกิดอาการบาดเจ็บได้ภายหลัง

- การวัดความยาวที่เหมาะสม เมื่อสวมรองเท้าให้ส้นเท้าชนขอบหลังดีแล้ว ควรให้มีพื่นที่เหลือระหว่างขอบบนนิ้วเท้าประมาณ ½ นิ้ว

 

4. ควรสวมถุงเท้ากีฬาทุกครั้งก่อนลองรองเท้า เนื่องจากถุงเท้ากีฬาที่หนาและนุ่มก็จะมีส่วนช่วยในการรองรับน้ำหนักและป้องกันการบาดเจ็บจากการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้าขณะออกกำลังกายด้วย นอกจากจะให้ความรู้สึกเหมือนจริงแล้วยังเป็นการรักษาสัขลักษณะอนามัยส่วนบุคคลอีกด้วย ป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นอับหรือการเกิดเชื้อราในรองเท้าได้ 

 

5. การดูแลรักษาความสะอาดก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อได้รองเท้าคู่ใจมาแล้วต้องศึกษาให้ดีกว่าวิธีการซักหรือการทำความสะอาดต้องเป็นเช่นไร รองเท้าบอกประเภทสามารถซักและตากแดดได้อย่างสม่ำเสมอ แต่บางประเภททำได้เพียงใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดและตากแดดอ่อนๆ นอกจากนี้การเก็บรักษาเพื่อให้รองเท้าได้รูปทรงที่สวย ควรใส่ดันทรงเพื่อไม่ให้เสียรูปด้วย

 

ฝาก 5 เทคนิคง่ายๆนี้ไว้ เพื่อการเลือกซื้อรองเท้าออกกำลังกายคู่ใจของทุกคนนะคะ

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. กุลภา ศรีสวัสดิ์, รองเท้ากีฬาความเหมือนที่แตกต่าง, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/491_1.pdf

2. เทคโนโลยีการออกกำลังกาย&ไลฟ์สไตล์ (2015) วิธีการเลือกรองเท้าออกกำลังกายให้เหมาะกับคุณ, บทความสุขภาพ กีฬา ออกกำลังกาย

 1699
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์