“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

แบบไหนเรียกว่าอ้วน

แบบไหนเรียกว่าอ้วน

คำว่า“อ้วน” พูดเบา ๆ ก็เจ็บ นอกจากเจ็บใจแล้ว ยังอาจจะป่วยกายอีกด้วย...

ถ้าถามว่า “อ้วนมั้ย” ก็คงตอบยาก เพราะความอ้วนไม่ได้วัดกันที่สายตา แต่วัดกันด้วยค่า“BMI”ต่างหาก

หลายคนคงสงสัยว่า แล้วเจ้า BMI ที่ว่าคืออะไรล่ะ BMI ย่อมาจาก “Body Mass Index” หรือ "ดัชนีมวลกาย" เราหาค่า BMI ได้ง่ายๆ โดยใช้สูตร น้ำหนัก (กก.) หารด้วย ส่วนสูง (ม.) ยกกำลัง 2 หรือ

  

นายแพทย์ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ ได้ให้เกณฑ์ BMI ดังนี้

  • ถ้าน้อยกว่า 18.5 แสดงว่าน้ำหนักน้อยเกินไป
  • ถ้าอยู่ระหว่าง 18.5-22.9 แสดงว่าน้ำหนักปกติ
  • ถ้าอยู่ระหว่าง 23-24.9 แสดงว่าเริ่มมีน้ำหนักเกิน
  • ถ้าอยู่ระหว่าง 25-29.9 จัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ 1
  • ถ้ามากกว่า 30 จัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ 2

สรุปก็คือ ค่า BMI ควรอยู่ระหว่าง 18.5 ถึง 22.9 ถ้ามากกว่า 25 ขึ้นไปถือว่าอ้วนและเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ (ยกเว้นบางคนที่เล่นกล้ามจนมีน้ำหนักกล้ามเนื้อมาก)

 

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราหนัก 70 กก. สูง 170 ซม. (หรือ 1.7 ม.)

ก็ให้นำ 70 มาหารด้วย (1.7 ยกกำลัง 2) = จะได้ค่า BMI เท่ากับ 24.2

ซึ่งเกิน 23 แต่ไม่ถึง 24.9 ถือว่า“น้ำหนักเกิน แต่ยังไม่อ้วน”

 

...แต่ถ้าเราหนักขึ้นจนถึง 80 กก. สูงเท่าเดิมคือ 170 ซม. (หรือ 1.7 ม.)

ก็ให้นำ 80 มาหารด้วย (1.7 ยกกำลัง 2) = จะได้ค่า BMI เท่ากับ 27.7

...จัดว่า “อ้วนแล้ว”...เพราะ BMI เกิน 25

 

คนที่มี BMI ปกติก็อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะบางคนถึงมี BMI ปกติแต่อาจมีพุงยื่นก็ได้ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงไขมันในเลือดสูง เสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจ!

 

ส่วนใครที่ BMI เกินหรือลงพุง ควรรีบไปตรวจทั้งไขมัน น้ำตาลในเลือด และความดัน จะได้รู้ว่าตอนนี้เราเสี่ยงแค่ไหน แล้วเริ่มปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตตั้งแต่วันนี้ด้วยหลัก “3 อ.” ทั้งเรื่อง “อาหาร” “ออกกำลัง” รวมทั้งเรื่อง  “อารมณ์”

 

เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับ 3 อ. คือ . อาหาร เพิ่มผักผลไม้ที่มีกากใย  ลด ละ เลิกของมันของหวาน  . ออกกำลังกายเป็นประจำ  เพื่อให้ร่างกาย "ใช้มากกว่าที่รับมา" โดยห้ามพึ่งยาลดความอ้วนเด็ดขาด สุดท้ายคือต้องดูแล .อารมณ์ ให้ไม่เครียด เพื่อให้สุขภาพดีทั้งกายใจนั่นเอง

 

 2167
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์