“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”
ร่วมบริจาคคลิกที่นี่
Menu
หน้าหลัก
รู้จักมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
คณะกรรมการบริหาร
โครงการของเรา
อาหาร
ออกกำลังกาย
อารมณ์
ปลอดภัยโรค
ข่าวสารและกิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ปลอดภัยโรค
Be my Valentine เพราะหัวใจต้องการดูแล
Be my Valentine เพราะหัวใจต้องการดูแล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
ปลอดภัยโรค
Be my Valentine เพราะหัวใจต้องการดูแล
Be my Valentine เพราะหัวใจต้องการดูแล
ย้อนกลับ
ถาม : ชีวิตนี้มีใครจะรักเราเท่ากับตัวเราเอง ?
ตอบ : อาจมีนะ แต่เชื่อเถอะ ไม่มีใครดูแลหัวใจเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง
คำแนะนำ 8 ประการต่อไปนี้ ช่วยคุณลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้
• รู้จักตัวเอง
• ผ่อนคลายความเครียด
• งดสูบบุหรี่
• ลดน้ำหนักส่วนเกิน
• ควบคุมความดันโลหิต
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
• อย่าอยู่เฉย
• ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
1) รู้จักตัวเอง
มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจโดยที่บางปัจจัย เช่น มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ เป็นเรื่องที่คุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้แต่ปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากได้แก่พฤติกรรมส่วนตัวและการดำเนินชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ เช่น หากคุณสูบบุหรี่ หรือมีความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ดังนั้น แม้การทราบว่าตัวเองเสี่ยงต่อโรคหัวใจ จะทำให้คุณกังวล แต่ก็ทำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนกลายเป็นผู้มีสุขภาพดี ปลอดจากโรคหัวใจได้เช่นกัน
2) ผ่อนคลายความเครียด
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่หากเครียดมากเกินไปก็ส่งผลร้ายต่อสุขภาพกาย อารมณ์ และสุขภาพจิต
แม้ความเกี่ยวพันระหว่างความเครียดกับโรคหัวใจจะยังไม่ชัดเจน แต่ความเครียดมีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ระดับฮอร์โมนความเครียด อาทิ คอร์ติซอล และอะดรีนาลีน เพิ่มสูงจนเป็นอันตราย ทั้งยังส่งผลให้เกิดแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่น รับประทานอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่มากขึ้น และออกกำลังกายน้อยลง
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น ขณะที่การทำสมาธิ นวดผ่อนคลาย เล่นโยคะก็เป็นวิธีผ่อนคลายที่ได้รับความนิยมเช่นกัน
3) งดสูบบุหรี่
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจประการใดจะร้ายแรงเท่ากับการสูบบุหรี่อีกแล้ว การเลิกบุหรี่ได้จึงเป็นประโยชน์มหาศาลต่อสุขภาพหัวใจ
บุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต สารเหล่านี้จะเพิ่มความดันให้สูงขึ้น และลดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลง ดังนั้นไม่ว่าจะสูบมากหรือสูบน้อยก็เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกัน แม้แต่ผู้ที่สูบเป็นบางครั้ง ก็ยังมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบเลย
การเลิกสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีหลายหนทางที่ช่วยให้เลิกได้ โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมเฉพาะรายบุคคล
4) ลดน้ำหนักส่วนเกิน
ความอ้วน และน้ำหนักส่วนเกินไม่ส่งผลดีแต่ประการใด โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจ น้ำหนักเกินนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่มีรอบเอวหนามีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทั้ง สามโรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น
5) ควบคุมความดันโลหิต
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงโดยอัตโนมัติ เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็น "ส่วนผสม" พื้นฐานของโรคหัวใจ ในระยะยาวความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการอักเสบ ทำลายผนังหลอดเลือดจนเกิดเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา
มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งพันธุกรรม ความอ้วน การรับประทานอาหาร โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ และการขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจึงเป็นวิธีที่ได้ผลดีในระยะยาว ในรายที่มีความดันสูงมาก ๆ เวชภัณฑ์ หลายชนิดก็ใช้ได้ผลดี
ผู้ที่ไม่อ้วนและดูเหมือนจะมีสุขภาพดี ก็อาจมีปัญหาเรื่องความดันโลหิตได้ หลีกเลี่ยงของทานเล่นที่มีไขมันสูง หรืออาหาร ทอดน้ำมันท่วม แล้วหันมารับประทานผัก ผลไม้มากขึ้นจะช่วยให้คุณควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้
6) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายคนไม่มีเวลาไตร่ตรองเรื่องการรับประทานอาหารเท่าไรนัก ทั้งฟาสต์ฟู้ด อาหารขยะ และการรับประทานมากเกินพอดี ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจ หมายถึงการลดอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและไขมันแปลงสภาพ รับประทานผักและผลไม้ประมาณ 5 ถึง 10 ส่วนต่อวัน เน้นธัญพืชไม่ขัดสี และบริโภคโปรตีนไขมันต่ำ อาทิ เนื้อไม่ติดมันและเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาที่อุดมด้วยไขมันอย่างปลาแซลมอนที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มากซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวในการประกอบอาหาร
นอกจากนี้ การรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่ควรรับประทานประมาณ 2,000 แคลอรี่ โดยให้มีสัดส่วนของไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ดังนั้น อย่าลืมอ่านฉลากทุกครั้งเมื่อซื้อหาอาหารมารับประทาน
7) อย่าอยู่เฉย
การอยู่เฉย ๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้ การออกกำลังกาย (อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4 ถึง 5 ครั้ง) ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ได้หลายประการ รวมทั้งโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคมะเร็ง
การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน ผ่อนคลายความเครียด ทำให้อารมณ์ดี และกระดูกแข็งแรงอีกด้วย
แม้ในสัปดาห์หนึ่ง ๆ คุณอาจไม่มีเวลาออกกำลังกายได้มากขนาด 4 หรือ 5 ครั้ง การออกกำลังกายแม้เพียง 1 ถึง 2 ครั้ง ก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ดี เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย
คำเตือน: ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพของคุณ
8) ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ข้อสุดท้ายนี้อาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นเป็นประโยชน์มาก การตรวจสุขภาพช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ซึ่งการรักษาจะได้ผลดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจวัดความดันและระดับไขมันในเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
1101
ผู้เข้าชม
×
Tel
0-2716-6658
0-2716-6843
×
Line
×
ฟอร์มการติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
ที่อยู่ :
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล :
ประเภทการติดต่อ :
ติดต่อสอบถาม
ร่วมบริจาค
เรื่อง :
รายละเอียด :
แนบไฟล์ :
ส่งข้อความ
ยกเลิก
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com