“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

รู้จัก กับ ไตรกลีเซอไรด์ (ไข)มันร้ายต่อใจ

รู้จัก กับ ไตรกลีเซอไรด์ (ไข)มันร้ายต่อใจ

 

              ไขมันอีกตัวในเลือดที่ร้ายต่อใจพอๆ กับคอเลสเตอรอล เราเรียกมันว่า “ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)” ไหนลองหยิบผลตรวจเลือด เมื่อครั้งเราไปตรวจสุขภาพประจำปีขึ้นมาดูสักหน่อย ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเราอยู่ที่เท่าไรกัน ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดควรจะอยู่ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (หรือ mg/dl)  หากมีค่าสูงกว่าปกติแปลว่าร่างกายเรามีการสะสมของไตรกลีเซอไรด์อยู่มาก โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้ภายใน 2 -3 ชั่วโมงหลังจากการทานอาหาร หากอดอาหารมานาน 8-12 ชั่วโมง แล้วตรวจเลือดพบระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงถือเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้เลย เนื่องจากไตรกลีเซอไรด์ปริมาณมากๆทำให้เลือดเหนียวข้นขึ้น ด้วยไขมัน ด้วยการจับตัวกันเป็นลิ่ม และเกิดการอุดตันได้ที่หลอดเลือดในที่สุด โดยเฉพาะที่หัวใจและสมอง มากไปกว่านั้น ยังพบว่าคนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ระดับไขมันที่ดี หรือ เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL) ดังนั้น เมื่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงร่วมกับ HDL ต่ำ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

แล้วไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

1. สร้างเอง: ร่างกายก็สร้างไตรกลีเซอไรด์ได้เองในตับ แต่ก็ยังมาจากทางอื่นด้วย

2. กินเยอะ: กินอาหารมากเกินไป จนได้รับพลังงานหรือแคลอรี่มากเกิน

3. ชอบหวานมัน: กินอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานปริมาณมาก

4. ดื่มเหล้า: เมื่อดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ จะถูกส่งต่อไปที่ตับ กระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น

5. มีพุง: จากการศึกษาพบว่าคนอ้วนมีแนวโน้มที่จะมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่าคนผอม

6. กรรมพันธุ์: จากการที่ร่างกายไม่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยหรือกำจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ สังเกตว่าอาจมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงได้ถึง 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

7. สูบบุหรี่: ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้เช่นกัน

 

หากคุณเป็นคนที่มีพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงของการมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง  

แนะนำให้ลองหาเวลาไปตรวจสุขภาพดูนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

 

เอกสารอ้างอิง

- Miller, Michael & Stone, Neil & Ballantyne, Christie & Bittner, Vera & H Criqui, Michael & N Ginsberg, Henry & Goldberg, Anne & James Howard, William & S Jacobson, Marc & M Kris-Etherton, Penny & Lennie, Terry & Levi, Moshe & Mazzone, Theodore & Pennathur, Subramanian. (2011). Triglycerides and Cardiovascular Disease A Scientific Statement From the American Heart Association. Circulation. 123. 2292-333. 10.1161/CIR.0b013e3182160726.

- วันทนีย์ เกรียงสินยศ(2552) รู้กิน รู้โรค, หมอชาวบ้าน:กรุงเทพฯ

 

 4278
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์