“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

5 พฤติกรรมการกินเสี่ยง วัยทำงานควรเลี่ยง

5 พฤติกรรมการกินเสี่ยง วัยทำงานควรเลี่ยง

            วัยทำงานมีโรครุมเร้ามากกว่าที่คิด จากการวิจัยพบว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในวัยทำงาน มี 5 พฤติกรรมเสี่ยงเนื่องจากการกิน คือ

  1. กินไขมันมากไป แต่ละวันเราไม่ควรบริโภคน้ำมันเกิน 6 ช้อนชา หรือประมาณ 30 กรัม สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าใน 1 วัน เราควรเลือกบริโภคไขมันดีประมาณร้อยละ​ 25-35 ของแคลอรีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ไขมันชนิดดีพบได้ในอาหารประเภทปลา ถั่ว หรือน้ำมันพืช
  2. กินเค็มมากไป สำนักโภชนาการ กรมอนามัยแนะนำว่าคนไทยไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 1 ช้อนชา ซึ่งมีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ความเค็มอาจไม่ได้หมายถึงเกลือเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงโซเดียมที่แอบแฝงอยู่ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูป ผงฟู หรือแม้แต่ผักบางชนิดก็มีโซเดียมอยู่มาก เช่น แครอต มันฝรั่ง เป็นต้น
  3. กินหวานมากไป ปกติแล้วเราไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัมต่อวัน รสหวานยังแฝงตัวอยู่ในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว รวมทั้งขนมต่างๆ ลูกอม ช็อกโกแลต อีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ได้
  4. กินผักผลไม้ที่มีกากใยสูงน้อยไป ในเรื่องการบริโภคผักผลไม้ของคนไทย จากงานวิจัยพบว่าปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ที่เหมาะสมต่อวันคือระหว่าง 400-600 กรัม
  5. ดื่มแอลกอฮอล์บ่อยเกินไป หลายคนอาจส่งสัยว่าดื่มแอลกอฮอล์เท่าไรจึงจะเหมาะสม สมมติว่าสุรา 1 หน่วยจะเท่ากับ เบียร์ 360 cc ไวน์ 150 cc  บรั่นดี 45 cc ผู้ชายควรดื่มเพียง 1-2 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงควรดื่มเพียง 1 หน่วยต่อวัน ถ้ามากกว่านี้จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ถ้าเหล่าคนทำงานยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ก็อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกได้

คนวัยทำงานต้องหันไปกินผักผลไม้ที่มีกากใยมากๆ และดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ นอกจากปรับไลฟ์สไตล์การกินแล้ว ก็อย่าลืมเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เรื่องอื่นด้วย เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดอารมณ์เครียด และเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจเช่นกัน

 4126
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์