“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”
  • หน้าแรก

  • อาหาร

  • เกลือโพแทสเซียม อีกหนึ่งทางเลือกในการลดโซเดียม ดูแลหัวใจ

เกลือโพแทสเซียม อีกหนึ่งทางเลือกในการลดโซเดียม ดูแลหัวใจ

  • หน้าแรก

  • อาหาร

  • เกลือโพแทสเซียม อีกหนึ่งทางเลือกในการลดโซเดียม ดูแลหัวใจ

เกลือโพแทสเซียม อีกหนึ่งทางเลือกในการลดโซเดียม ดูแลหัวใจ

 

            ในยุคที่ทุกๆคนหันมาดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารลดโซเดียม (Reduced Sodium) หรือโซเดียมต่ำ (Low Sodium) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากมีสุขภาพดี แล้วทุกๆท่านทราบกันไหมคะ ว่าผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำเหล่านี้ มีวิธีการผลิตอย่างไร ให้อาหารยังคงอร่อยทั้งที่ลดปริมาณเกลือลงไป คำตอบก็คือ เกลือโพแทสเซียม นั่นเองค่ะ

 

เกลือโพแทสเซียม คืออะไร

            เกลือโพแทสเซียม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นเดียวกับเกลือปกติที่เราใช้กันตามครัวเรือน ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทดแทนความเค็มที่ลดลงจากการลดปริมาณของเกลือปกติ

 

ทำไมต้องเกลือโพแทสเซียม

         การได้รับโซเดียมที่มากเกินไปจะส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  แนวคิดการนำเกลือโพแทสเซียมมาใส่ในอาหารจึงเกิดขึ้น เพื่อลดการใช้เกลือปกติและลดปริมาณโซเดียมที่ผู้บริโภคได้รับจากผลิตภัณฑ์อาหาร และที่ต้องใช้เกลือชนิดนี้ก็ด้วย สองเหตุผล คือ

1. คนส่วนใหญ่ได้รับโพแทสเซียมอยู่ที่ประมาณ 77% - 95% ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ WHO แนะนำต่อวัน แต่ได้โซเดียมมากถึงสองเท่าของปริมาณที่ WHO แนะนำ (ปริมาณที่แนะนำคือ ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่าเกลือแกง 5 กรัม หรือ 1 ชช.) และจากการสำรวจการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทย โดยกรมอนามัย ปี พ.ศ. 2550 พบว่า ประชากรไทยได้รับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัมต่อวัน

2. เกลือโพแทสเซียมนั้นปลอดภัยและมีประโยชน์ การศึกษาวิจัยพบว่า เกลือโพแทสเซียมช่วยลดระดับความดันโลหิตในผู้ใหญ่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยไม่มีผลข้างเคียงใดใดต่อระดับไขมันในเลือด ระบบการทำงานของไต และการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไต แต่ในคนสุขภาพดีการใช้เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนมากนัก  

 

ข้อควรระวัง

            แม้เกลือโพแทสเซียมจะมีประโยชน์และได้รับการอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ แต่ก็มีข้อพึงระวังและงดใช้ในกลุ่มคนที่มีภาวะไตวาย (ภาวะที่ไตขับของเสียและแร่ธาตุส่วนเกินได้น้อยลง) เพราะอาจทำให้มีการคั่งของโพแทสเซียมในร่างกายได้  นำไปสู่การคลื่นไส้ อาเจียน อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการทางประสาทและระบบหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มเร็วขึ้น ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้

ผู้ที่มีภาวะของไตวายจึงควรลดการบริโภคอาหารแปรรูป และเครื่องปรุงรสเค็มไม่ว่าจะเป็นสูตรปกติ หรือลดโซเดียมก็ตาม

 

เอกสารอ้างอิง

  • Nutrients. 2016 Apr 21;8(4):235. doi: 10.3390/nu8040235. Dietary Impact of Adding Potassium Chloride to Foods as a Sodium Reduction Technique. van Buren L1, Dötsch-Klerk M2, Seewi G3, Newson RS4.
  • BMJ. 2013 Apr 3;346:f1378. doi: 10.1136/bmj.f1378. Effect of increased potassium intake on cardiovascular risk factors and disease: systematic review and meta-analyses. Aburto NJ1, Hanson S, Gutierrez H, Hooper L, Elliott P, Cappuccio FP.
  • J Hypertens. 2015 Aug;33(8):1509-20. doi: 10.1097/HJH.0000000000000611. Daily potassium intake and sodium-to-potassium ratio in the reduction of blood pressure: a meta-analysis of randomized controlled trials. Binia A1, Jaeger J, Hu Y, Singh A, Zimmermann D.
  • ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 – 2568 โดยกระทรวงสาธารณสุข
 15492
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์