อย่างที่ทราบกันผลสำรวจของ Global Agricultural Information Network เมื่อปี พ.ศ. 2557 พบว่า คนไทยติดหวาน บริโภคน้ำตาลถึง 28.4 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งสูงกว่าคำแนะนำ มากถึง 4.7 เท่า [คำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เติมน้ำตาล(Added Sugar) ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน] ซึ่งการได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินความจำเป็นเช่นนี้ คงไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเป็นแน่ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญหรือนำไปใช้ได้หมด เปลี่ยนเก็บสะสมในรูปไขมันในร่างกาย นำไปสู่โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่นๆอีกมากมาย
ด้วยประเทศไทยนั้นมีโรงงานผลิตน้ำตาลอยู่มาก มีน้ำตาลอยู่หลายชนิด ในแต่ละวันบางทีผู้บริโภคอาจได้รับน้ำตาลมาจากหลายแหล่ง จนเกินปริมาณที่เหมาะสมโดยไม่จำเป็น น้ำตาลที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
- น้ำตาลพื้นเมือง มักถูกใช้ในการปรุงประกอบอาหารไทยพื้นเมือง ขนมหวาน เป็นน้ำตาลประเภทที่ไม่ได้เข้าเครื่องปั่นให้เป็นผลึก หมายถึง น้ำตาลที่ทำมาจากต้นมะพร้าว ต้นตาล ต้นจาก ต้นอ้อย ทำการผลิตแบบง่ายๆ เคี่ยวจนเกิดเป็นน้ำตาลและทำให้ขึ้นรูปเป็นก้อน โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรระหว่างกระบวนการทำ และการตั้งชื่อเรียกน้ำตาล จะตั้งตามลักษณะภายนอก ตามแหล่งวัตถุดิบหรือภาชนะที่บรรจุ เช่น น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปีบ น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลแดง เป็นต้น
- น้ำตาลทราย ซึ่งเป็นชนิดน้ำตาลที่ได้รับความนิยมมากกว่า ถูกผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตและความปลอยภัยในอาหาร ซึ่งมามารถแบ่งย่อยได้อีกคือ
- น้ำตาลเทียม หรือ สารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาล ซึ่งเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาและมีคุณสมบัติให้รสหวานคล้ายน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้ มีพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงานเลย ซึ่งมีประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต รักษาคุณภาพของอาหาร และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามถึงผลข้างเคียงของการใช้เป็นเวลานานอย่างละเอียดด้วย
จะเห็นได้ว่าน้ำตาลในชีวิตประจำวันของเรามีอยู่รอบตัวไปหมด จะดูแลตนเองได้ดี ต้องมีสติเสมอในการรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าไม่อยากได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการ ควรเลือกอาหารที่รสชาติไม่จัด ชิมก่อนปรุง จำกัดของหวานและเครื่องดื่มหวานๆ วันละไม่เกิน 1 แก้ว และที่สำคัญควรอ่านฉลากโภชนาการ ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลทุกครั้งว่ามากเกินไปหรือไม่ อย่าลืมนะคะ… 6 ช้อนชาต่อวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจและคณะ
เอกสารอ้างอิง
-The American Heart Association (2017) Added Suger, Retrieved from,