สำหรับคนที่ติดตามอ่านบทความตอนแรกก่อนหน้านี้แล้ว ว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนั้นมาจากการรับประทานอาหารที่อาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง อย่างไรก็ตามการที่ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมากสามารถชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจได้ ตอนนี้ก็คงอยากจะรู้แล้วว่า เราจะหาสารต้านอนุมูลอิสระจากที่ไหนได้บ้าง?
“สารต้านอนุมูลอิสระ” ได้จากเอนไซม์ต่างๆ ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง เช่น Superoxide dismutase, Glutathione Peroxidase เป็นต้น และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญได้มาจากการรับประทานผักผลไม้หลากหลายชนิดในปริมาณเหมาะสมเนื่องจากเป็นแหล่งรวมของสารต้านอนุมูลอิสระนานาชนิด
ตารางสารต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนุมูลอิสระ |
แหล่งอาหาร |
Vitamin C |
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (บลูเบอรี่ สตอเบอรี่ เชอรี่ ราสเบอรี่) ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว(ส้ม ผรั่ง กีวี่) แตงโม เมล่อน มะม่วง มะละกอ ผักใบเขียว บรอคโคลี่, ผักโขม, มะเขือเทศ |
Vitamin E |
ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชไม่ขัดสีนานาชนิด |
Beta Carotene |
แคนตาลูป พีช แอปริคอต มะม่วง มะละกอ ผักใบเขียว(บรอคโคลี่ ผักโขม) ผักสีเหลืองส้ม(แครอท ฟักทอง) |
Anthocyanins |
ลูกพรุน มะเขือม่วง ผลไม้ตระกูลเบอรรี่ (บลูเบอรี่ สตอเบอรี่ เชอรี่ ราสเบอรี่) |
Catechins |
ชาเขียว ผลไม้ตระกูลเบอรรี่ (บลูเบอรี่ สตอเบอรี่ เชอรี่ ราสเบอรี่) |
Lutein |
ไข่ ข้าวโพด |
Lycopene |
แตงโม เมล่อน มะเขือเทศ |
Resveratrol |
ถั่วลิสง บลูเบอรี่ |
Selenium |
ไข่ ไก่ ปลา อาหารทะเล ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชไม่ขัดสีนานาชนิด ข้าวโอ๊ต กระเทียม หัวหอม |
“รับประทานผักผลไม้อย่างน้อย 5 สี ปริมาณ 400-600 กรัมต่อวัน
เพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกายและสุขภาพที่ดีของหัวใจนะคะ”
เอกสารอ้างอิง